รัฐสภาไทย

       รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่งประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
          หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
          หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
          หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

ประธานรัฐสภาไทย
          1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
          28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
          15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
          2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
 2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
          3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
          ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
          26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
          6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
          ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
          31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
          15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
          4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
          ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
          22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
          17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
          7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
          ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
          26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
          20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
          15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
          22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
          5. พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
          3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
          10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
          28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
          12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
          28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
          1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
          1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
          30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
          2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
          29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
          26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
          6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
          4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
          7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
          1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
          22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
          28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
          2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
          29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
          2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
          30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
          16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
          28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
          27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
          25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
          8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
          ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
          20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
          ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
          6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
          9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
          8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
          10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
          22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
          7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
          11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
          12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
          13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
          14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
          15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
          19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
          6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
          16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
          22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
          17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
          ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
          28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
          ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
          ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
          9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
          18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
          26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
          ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
          30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
          1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
          24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
          3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
          ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
          20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
          4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
          21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
          28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
          22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
          23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
          24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
          25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
          26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
          27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
          28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
          15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
สำหรับรัฐสภาของประเทศไทย กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และมีการเปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ต่อมาเมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า แต่พอมีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้ง ก็ต้องระงับไป 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป อีกทั้งยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ใช้งบประมาณ 51,027,360 บาท จากนั้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนเนื้อที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต และทำการคัดเลือกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ไปตั้งแต่ปลายปี 2552 แล้วนั้น
ล่าสุดวันที่ 4 สิงหาคม นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏร แถลงถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยระบุว่าขณะนี้การเตรียมการทุกอย่างดำเนินการไปเกือบ 90% โดยใช้งบประมาณราว 4,000-5,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบ และตอนนี้อยู่ระหว่างการออกแบบในรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยให้ได้ประโยชน์ สูง สุด 3 แสนตารางเมตร ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในช่วงปลายปี 2553 และเปิดประมูลได้ในต้นปี 2554 ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่จะแล้วเสร็จ พร้อมเปิดใช้ได้ภายในปี 2556 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 900 วัน นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง หรืออาจจะเร็วกว่านั้น
ขณะเดียวกัน ก็ระบุว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ได้มีหมายวางศิลาฤกษ์แล้ว โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบตั้งแต่ปี 2552 สมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และที่สำคัญได้รับงบประมาณตั้งแต่ปี 2554 และได้รับต่อเนื่องในปี 2555-57 ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นงบประมาณกว่าหมื่นล้านบาท จึงเชื่อว่าการก่อสร้างจะเรียบร้อยไม่มีปัญหา ที่สำคัญได้กราบบังคมถวายคืนอาคารรัฐสภาปัจจุบันแล้ว
สำหรับรูปแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่นั้น เป็นผลงานการออกแบบของกลุ่ม นายธีรพล นิยม ชื่อ สัปปายะสภาสถานโดยคำว่า สัปปายะ แปลว่า สบาย ในทางธรรม หมายถึงสถานที่ประกอบกรรมดี ดังนั้น จึงออกแบบให้สอดคล้องกับแนวคิดซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมไทย และนำหลักการสถาปัตยกรรมไทยแบบแผนไตรภูมิตามพุทธคติมาเป็นแรงบันดาลใจออกแบบ ทำให้มีอาคารเครื่องยอดสถาปัตยกรรมไทยอยู่ตรงกลางอาคารหลัก เพื่อชูสัญลักษณ์ความเป็นไทย มีการอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากรัฐสภาเก่าไว้บนยอด และใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นจุดเด่น
รวม ถึงมีสนามหญ้าสีเขียวแลดูรื่นรมย์อยู่ด้านหน้า เปิดกว้างปราศจากกำแพงกลางกั้น มีเพียงสายน้ำกั้นกลาง เพื่อเปิดกว้างระหว่างประชาชนกับสมาชิกสภา มีพิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตยสุดอลังการอยู่ชั้นบนสุด มีกำแพงแก้ว หรือ พิพิธภัณฑ์ชาติไทย เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ได้ มีโถงรับรอง ส.ส. ส.ว. โถงรัฐพิธี มีห้องพระสุริยัน (ห้องประชุม ส.ส.) ห้องพระจันทรา (ห้องประชุม ส.ว.) และมีลานประชาชน ลานประชาธิปไตยขนาดใหญ่ เพื่อเอาไว้รองรับประชาชนที่ต้องการแสดงออกซึ่งสิทธิตามหลักประชาธิปไตย เป็นต้น
         แหล่งที่มา     http://th.wikipedia.org/wiki/%