ประวัติการปกครองของไทย

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา
            รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  อยุธยาตอนกลาง  อยุธยาตอนปลาย
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น    มีลักษณะดังนี้
การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน
            ส่วนที่ 1)   การปกครองส่วนกลาง  การปกครองในเขตราชธานี   และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่  กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี)  กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา  (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)
          ส่วนที่ 2)   การปกครองส่วนหัวเมือง   แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
        1. เมืองลูกหลวง   หรือเมืองหน้าด่าน       ตั้งอยู่รอบราชธานี 4  ทิศ เช่น ลพบุรี  นครนายก พระประแดง  สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
        2. หัวเมืองชั้นใน  อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี  สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา ชลบุรี  ตะนาวศรี  ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
         3.หัวเมืองชั้นนอก   หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
         4. เมืองประเทศราช   เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด   มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น 
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้                 ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง
        ช่วงที่ 1  เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง    และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ   พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น  มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง        สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น  2  ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล  ส่วนพลเรือนมี  สมุหนายก  ดูแล
          
สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช          สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง
สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง    และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ  สมุหนายก  อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี
การปฏิรูปส่วนหัวเมือง  แยกเป็น 3 ส่วน
        หัวเมืองชั้นใน   ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน  ทรงขุนนางไปครองเรียก  ผู้รั้ง 
        หัวเมืองชั้นนอก
 คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า  เมืองพระยามหานคร  จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี 
       เมืองประเทศราช  คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
     ช่วงที่ 2  ตรงกับสมัยพระเพทราชา  ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม  และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน  โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน  ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้  สมุหกลาโหมดูแล
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310)  มีลักษณะดังนี้            พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม     ส่วนสมุหนายก  ยังคงเหมือนเดิม  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง
             เข้าใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง
            สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์  เจ้านาย และขุนนาง  ตลอดจนสิ้นอยุธยา



        การปกครองสมัยกรุงธนบุรียึดถือตามแบบอย่างอยุธยา สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือแบ่งส่วนราชการออกเป็น
               1. การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วยอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง ได้แก่
                - สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน และดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
                - สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร และดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
การบริหารราชการแบ่งออกเป็น 4 กรเรียกว่า จตุสดมภ์ ประกอบด้วย
                - กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ปกครองท้องที่ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                - กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนัก และช่วยพระมหากษัตริย์พิจารณาคดีความของราษฎร จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์
                - กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน และเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วย อากร และบังคับบัญชากรมท่า ซี่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
                - กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษี (หางข้าว)
              2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น
                2.1 หัวเมืองชั้นใน (เมืองจัตวา) ได้แก่เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เป็นเมืองเล็กๆมีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ปกครองเมือง แต่เรียกว่า จ่าเมือง เช่นเมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก
               2.2 หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่เมืองซึ่งอยู่นอกราชธานีออกไป แบ่งตามขนาดและความสำคัญของเมืองกำหนดฐานะเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา โดยรูปแบบการบริหารราชการเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ฐานะของเมืองอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
               2.3 หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองซึ่งทางกรุงธนบุรีจะเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง ให้อิสระในการปกครอง แต่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเมืองหลวง และต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง รวมทั้งเครื่องราชบรรณาการตามทีเมืองหลวงกำหนด เมืองประเทศราชสมัยกรุงธนบุรีได้แก่ เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทร์ จำปาศักดิ์นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเขมร
เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี

              การเสียกรุงครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดความเสียหายย่อยยับแก่เศรษฐกิจไทย นอกเหนือจากชาวไทยต้องบาดเจ็บล้มตายในสงครามกับพม่าหลายหมื่นคนแล้ว ผู้รอดชีวิตจำนวนมากต้องอพยพหนีตายในสภาพอดอยาก ยากแค้น บางส่วนอพยพหนีเข้าป่า บางส่วนซัดเซพเนจรหาที่พักพิงใหม่ เมื่ออดอยากหนักเข้าจึงใช้วิธีปล้นสะดมฆ่าฟันกันเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ล้มตายเพราะขาดอาหาร หรือไม่ก็ตายเพราะโรคระบาด พลเมืองบางส่วนก็หนีไปพึ่งพระบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี
              หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้วได้ดำเนินวิธีการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจดังนี้
             1. ทรงสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากต่างชาติที่นำมาขาย แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
              2. ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการสนับสนุนให้ข้าราชการทำนาปรัง
              3. ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อนำรายได้มาใช้เกี่ยวกับการทำสงครามและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม รายได้เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ การเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ ภาษีขาเข้า - ภาษีขาออก
              4. ทรงดำเนินนโยบายประหยัด โดยการใช้ของที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ให้คุ้มค่ามากที่สุด แม้ว่าพระเจ้าตากสินจะพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาความอดอยากของประชาชน แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้
          1.มีสงครามตลอดรัชกาล ทำให้ราษฎรไม่มีเวลาทำมาหากิน
           2.เกิดภัยธรรมชาติ เช่น พ.ศ.2311 – พ.ศ.2312 ฝนแล้งติดต่อกัน ทำนาไม่ได้ผล ที่พอทำได้บ้างก็ถูกหนูกัดกินข้าวในนาและยุ้งฉาง รวมทั้งทรัพย์สินสิ่งของทั้งปวงเสียหาย จึงมีรับสั่งให้ราษฎรดักหนูนามาส่งกรมพระนครบาล ทำให้เหตุการณ์สงบลงไปได้
           3.ผู้คนแยกย้ายกระจัดกระจายกัน ยังไม่มารวมกันเป็นปึกแผ่น
           4.พ่อค้าชาติต่างๆยังไม่กล้ามาลงทุน เพราะสภาพการณ์บ้านเมืองไม่น่าวางใจนัก  อีกประการหนึ่งเกรงจะถูกยึดทรัพย์สินเป็นของหลวง  การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผลนัก ทั้งนี้เพราะต้องทำควบคู่ไปกับการทำสงครามด้วย แม้กระนั้นพระเจ้าตากสินก็พยายามส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยส่งเสริมการต่อเรือพาณิชย์ อันเป็นผลให้มีหนทางเก็บภาษีเข้าท้องพระคลัง เรือค้าขายจากเมืองจีนมาติดต่อบ่อยครั้ง ใน พ.ศ.2324คณะทูตจากกรุงธนบุรีเดินทางไปเมืองกวางตุ้ง นำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรีและได้เจรจาเรื่องการค้าด้วย
  
การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านการศึกษาและศาสนาสมัยกรุงธนบุรี

         การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดกับวัง โดยวัดจะเป็นสถานศึกษาสำหรับราษฎรทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชายเพราะต้องไปศึกษาและพักอยู่กับพระที่วัด วิชาที่เรียนได้แก่ การอ่าน เขียนภาษาไทยภาษาบาลี - สันสกฤต และวิชาเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนวังเป็นสถานศึกษาสำหรับบุตรของพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ วิชาที่เรียนส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปกครอง วิชาการป้องกันตัว เพื่อเตรียมรับราชการต่อไปในอนาคต ส่วนวิชาชีพนั้นจะเป็นการศึกษากับพ่อแม่ คือ พ่อแม่ประกอบอาชีพอะไร ก็มักจะถ่ายทอดให้ลูกหลานทำต่อ เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ หรือวิชาช่างต่างๆ ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนในอนาคต ดังนั้นการเรียนของเด็กผู้หญิงจะเรียนอยู่กับบ้าน มีแม่เป็นผู้สอน วิชาที่เรียน เช่น การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การฝึกอบรมมารยาทของสตรี โดยพ่อแม่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ 
การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านศาสนาสมัยกรุงธนบุรี
        พระพุทธศาสนาตกต่ำมากในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ พระราชภารกิจทางด้านศาสนา ได้แก่
            1. นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ตามที่ต่างๆให้มาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดประดู่ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระราชาคณะให้ปกครองพระอารามต่างๆในเขตกรุงธนบุรี
            2. ในคราวเสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช พระองค์เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระอารามวัดพระศรีมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และให้เชิญพระไตรปิฎกขึ้นมายังกรุงธนบุรี เพื่อคัดลอกจารไว้ทุกหมวดแล้วเชิญกลับไปนครศรีธรรมราชตามเดิม
              3. เมื่อเสด็จหัวเมืองเหนือ พระเจ้าตากสินก็ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะตามหัวเมืองต่างๆ และโปรดให้รวบรวมพระไตรปิฎกทางหัวเมืองเหนือมาสอบชำระที่กรุงธนบุรี แล้วให้ส่งกลับไปใช้เป็นฉบับหลวง
             4 .ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุ สามเณร ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาเป็นประจำ
             5. ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม)อันเป็นพระอารามหลวง และประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์   นอกจากนี้เมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ใน พ.ศ.2321 ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในกรุงธนบุรีด้วย
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี
               สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
              1. พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม
              2. พระบรมวงศานุวงศ์
              3. ขุนนางข้าราชการ
              4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม
              5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก
              สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างอันตรายเพิ่งกอบกู้เอกราชคืนมาได้ ทั้งประสบความเสียหายอย่างใหญ่หลวง  ผู้คนหลบหนีเข้าป่าอย่างมากมาย ถูกกวาดต้อนไปพม่าก็มีมาก นอกนั้นต่างก็พยายามเอาตัวรอดโดยการตั้งเป็นก๊ก เป็นเหล่า ครั้นกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ก็ยังต้องระมัดระวังภัยจากพม่าที่จะมาโจมตีอีก การควบคุมกำลังคนจึงมีความสำคัญมาก เพราะถ้ามีผู้คนน้อย  ก็จะทำให้พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูได้
 ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก  ผู้ที่ถูกสักเลกทั้งหลาย เรียกกันว่าไพร่หลวง ซึ่งมีหน้าที่รับราชการปีละ 6 เดือน โดยมาทำราชการหนึ่งเดือน และหยุดพักผ่อนไปทำมาหากินหนึ่งเดือนสลับกันไป ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน มีไพร่หลวงอีกพวกหนึ่งเรียกว่าไพร่ส่วย คือเป็นไพร่ที่ส่งส่วยเป็นสิ่งของหรือเงินแทนการรับใช้แรงงานแก่ทางราชการ ส่วนไพร่สมเป็นไพร่ที่สังกัดมูลนายรับใช้แต่เจ้านายของตนเอง เพราะพวกนี้ถูกแยกเป็นอีกพวกหนึ่งเด็ดขาดไปเลย แต่บางครั้งไพร่สมก็ถูกแปลงมเป็นไพร่หลวงได้เหมือนกัน การสักเลกก็เพื่อเป็นการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวงเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนี

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

              ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยกรุงธนบุรีมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือการป้องกันประเทศจากการรุกรานของต่างชาติ และการขยายอำนาจไปยังอาณาจักรข้างเคียง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมืองประเทศที่มี ความสัมพันธ์กับไทยสมัยกรุงธนบุรี คือ พม่า ลาว เขมร และจีน
               1. ความสัมพันธ์กับประเทศพม่า เป็นไปในลักษณะของความขัดแย้งตลอดรัชกาล เริ่มจากการรบครั้งแรกที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งไทยเป็นฝ่ายชนะ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จแล้วก็ตาม แต่พม่าก็ยังไม่หยุดยั้งที่จะทำลายอาณาจักรไทยที่ตั้งขึ้นใหม่ ในสมัยกรุงธนบุรีมีการทำสงครามกับพม่า 10 ครั้งผลัดกันแพ้ชนะ สงครามครั้งสำคัญที่สุด ได้แก่ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 ไม่มีฝ่ายใดชนะโดยเด็ดขาด
              2. ความสัมพันธ์กับประเทศลาว ในสมัยกรุงธนบุรีมีการทำสงครามกับลาว2 ครั้ง คือศึกจำปาศักดิ์ปี พ.ศ.2319 และศึกเวียงจันทร์ปี พ.ศ.2321 ผลของสงครามทั้ง 2 ครั้ง ไทยเป็นฝ่ายชนะ ได้ลาวเป็นประเทศราชและในคราวศึกเวียงจันทร์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพไทย ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) และพระบาง จากเวียงจันทร์มากรุงธนบุรีด้วย
              3. ความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา เขมรเคยเป็นประเทศราชของไทยมาแต่สมัยอยุธยา หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310แล้วพระเจ้าตากสินกู้เอกราชได้สำเร็จ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เขมรไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายอ้างว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ใช่เชื้อพระวงศ์พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และพระยาอนุชิตราชา (บุญมา) นำทัพไปตีเขมรใน พ.ศ.2312 แต่ไม่สำเร็จเพราะเขมรแกล้งปล่อยข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคต พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชาจึงยกทัพกลับ   ต่อมาปี พ.ศ.2314โปรดให้พระยาจักรียกทัพไปตีเขมรอีก และได้เขมรกลับมาเป็นประเทศราชของไทย
4.ความสัมพันธ์กับประเทศจีน สมัยกรุงธนบุรีเป็นความพยายามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จะให้จีนยอมรับฐานะของพระองค์ และเพื่อให้ไทยได้เปิดค้าขายกับจีน เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำให้ฐานะของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมั่นคงขึ้นด้วย 
 เหตุการณ์ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

              ในช่วงปลายรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทรงหมกมุ่นในการนั่งวิปัสนากรรมฐาน จนเข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบันแล้ว ทรงบังคับให้พระสงฆ์มากราบไหว้พระองค์ หากไม่ปฏิบัติตามก็ทรงลงโทษอย่างหนัก สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จนเกิดจราจลขึ้น พระยาสรรค์ก่อการกบฏตั้งตนเป็นใหญ่ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผนวช   สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงยกทัพกลับจากการไปตีเขมร และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก


         

           อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง    มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่าสร้างตัว  การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว   ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน  มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน   ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครออาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง   มีจำนวพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่างสร้างตัว  การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว   ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน  มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน    ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม    ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
                            ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.      สมัยสุโขทัยตอนต้น   เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2.      สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
                          การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792  -1841 )
      หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1.      รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยพระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร  ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว  พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุนลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว   ยังมีการจัดระบบการปกครอง  ดังนี้
         ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น  บ้าน  อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า   ลูกบ้าน          หลายบ้านรวมกัน   เป็น    เมือง  ผู้ปกครองเรียกว่า    ขุน     เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น    อาณาจักร    อยู่ในการปกครองของ    พ่อขุน 
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน  ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วยพระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมีอาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่าบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
                        การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย       (พ.ศ. 1841-1981  )
     หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. 1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ  ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้   เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ  รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ   จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890    ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน  ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )  ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต     สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดินการปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา  พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม      การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
                                 การปกครองแบบกระจายอำนาจ
    เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
     เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
   1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี    อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง   เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
 2   เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า  2 วัน  เมืองลูกหลวงมีดังนี้
               ทิศเหนือ                 ได้แก่        เมืองศรีสัชนาลัย
               ทิศตะวันออก         ได้แก่        เมืองสองแคว  ( พิษณุโลก )
               ทิศใต้                       ได้แก่        เมืองสระหลวง    ( เมืองพิจิตรเก่า  )
               ทิศตะวันตก              ได้แก่       เมืองนครชุม     ( กำแพงเพชร )   
 เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง   ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย    เช่น เ มืองพระบาง  (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร )    เป็นต้น
4. เมืองประเทศราช     ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปี     ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
ทิศเหนือ   ได้แก่    เมืองแพร่ เมืองน่าน
ทิศตะวันตก    ได้แก่         เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่   เมืองเซ่า   ( หลวงพรบาง)   เมือ'เวียงจันทน์
ทิศใต้   ได้แก่     เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์ที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม      ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง

 การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงยึดถือตามแบบอย่างการปกครองสมัยอยุธยา คือเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงมีอำนาจสูงสุดและได้รับการเคารพจากราษฎรประดุจสมมุติเทพ การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านการปกครอง การศาล และกฎหมายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. การปกครองส่วนกลาง  มีหน่วยงานสำคัญ คือ
1.1 อัครมหาเสนาบดี มี 2 ตำแหน่ง คือ
- สมุหกลาโหม มีเจ้าพระยามหาเสนาเป็นผู้บังคับบัญชา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทหาร และหัวเมืองปักษ์ใต้ 20 หัวเมือง
- สมุหนายก ว่าการมหาดไทย ทำหน้าที่ในการปกครองดูแล ราชการฝ่ายพลเรือนทั่วไป และยังทำหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงด้วย
1.2 เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองจากอัครมหาเสนาบดีมี  4 ตำแหน่ง ได้แก่
- เสนาบดีกรมเมือง (นครบาล)ใช้ตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร ดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- เสนาบดีกรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) ใช้ตราเทพยาดาทรงพระโคเป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ พิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้วินิจฉัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า"ธรรมาธิกรณ์"
- เสนาบดีกรมพระคลัง (โกษาธิบดี) ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับรายรับ -รายจ่ายของแผ่นดิน ติดต่อกับชาวต่างประเทศที่มาติดต่อค้าขาย ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออกจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่ากรมท่า
- เสนาบดีกรมนา (เกษตราธิการ) ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ตรวจตราดูแลการทำไร่นา เก็บภาษีนา ซึ่งเรียกว่าหางข้าว ขึ้นฉางหลวง เพื่อเป็นเสบียงอาหารสำรองไว้ใช้ในยามเกิดสงคราม
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
2.1 หัวเมืองชั้นใน ได้แก่หัวเมืองชั้นจัตวาที่รายรอบพระนคร มีผู้รั้งเป็นผู้ปกครอง เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน
2.2 หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ที่อยู่ห่างไกลพระนคร มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง มีอำนาจสิทธิ์ขาดแทนพระองค์ทุกประการ หัวเมืองเหล่านี้อาจจะมีเมืองขึ้นอยู่ในครอบครองด้วย
2.3 การปกครองประเทศราช ดำเนินตามแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา คือให้อิสระในการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ซึ่งฝ่ายไทยจะเป็นผู้กำหนด หัวเมืองประเทศราชในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สำคัญ คือ ลานนาไทย ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู
3. การปกครองท้องที่ ท้องที่ที่เล็กที่สุดคือหมู่บ้านซึ่งเจ้าเมืองเป็นผู้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าปกครองหลายหมู่บ้านรวมกันเป็นตำบลมีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง หลายตำบลรวมกันเป็นแขวง มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง และหลายแขวงรวมกันเป็นเมือง มีผู้รั้งหรือเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง

การปรับปรุงด้านการศาลและกฎหมาย
กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ชำระขึ้นในปี พ.ศ.2347นั้นเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ที่เรียกเช่นนั้นเพระเมื่อรวบรวมและชำระเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้อาลักษณ์คัดลอกไว้เป็น 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และพระยาพระคลัง ซึ่งเป็นเสนาบดีที่มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองดูแลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร กล่าวคือสมุหกลาโหมปกครองดูแลหัวเมืองภาคใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองทางภาคเหนือและภาคอีสาน พระยาพระคลัง ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออกส่วนระบบการศาลของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนนต้นมีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือกระจายอยู่ตามกรมต่างๆจำนวนมากมายทั้งเมืองหลวงและหัวเมือง ศาลจึงมีจำนวนมากมาย เช่นศาลหลวงศาลอาญา ศาลนครบาล ศาลกรมวัง ศาลกรมนา ฯลฯ เมื่อเกิดคดีฟ้องร้องในเรื่องที่เกี่ยวกับกรมใด ก็ให้ศาลกรมนั้นพิจารณาตัดสินคดี ส่วนการลงโทษคงใช้ระบบจารีตนครบาล ได้แก่การเฆี่ยน ตอกเล็บ บีบขมับ การพิสูจน์คดียังคงใช้วิธีการดำน้ำพิสูจน์ ลุยไฟพิสูจน์ และถ้าไม่พอใจคำตัดสินสามารถฎีกาได้โดยไปตีกลองวินิจฉัยเภรีซึ่งผู้ร้องทุกข์ต้องถูกเฆี่ยน 30 ที เพื่อพิสูจน์ว่าเรื่องที่ฎีกานี้เป็นจริง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดฯให้เลิกประเพณีเฆี่ยนแล้วให้ร้องทุกข์โดยตรงต่อพระองค์เอง

จารีตนครบาล 
     ราษฎรที่ถูกทางราชการฟ้องว่ากระทำความผิดต่อพระเจ้าแผ่นดิน หรือต่อบ้านเมืองมักไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะกฎหมายถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะพิพากษาเสียแล้ว ตรงกันข้ามกับหลักฐานกฎหมายไทยในปัจจุบันนี้ ซึ่งถือว่าทุกคนที่มาศาลเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะตัดสินว่าเขาเป็นผู้กระทำผิด เมื่อถือแต่ชั้นแรกว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ผิด ทางการจึงมีความประสงค์ให้จำเลยรับสารภาพแต่โดยดี ถ้าจำเลยไม่สารภาพก็ยอมให้ศาลนครบาล หรือศาลอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีใช้จารีตนครบาลได้ จารีตนครบาล คือการลงทัณฑ์เพื่อผดุงความยุติธรรม ในระหว่างการพิจารณาของตระลาการ ตระลาการมีอำนาจลงทัณฑ์เฆี่ยน ตี ตอกเล็บ บีบขมับหรือทรมานจำเลยด้วยวิธีต่าง ๆ จนกว่าจำเลยจะรับสารภาพ ถ้าตระลาการเชื่อว่าจำเลยยังสารภาพไม่หมดเปลือกหรือเชื่อว่าจำเลยไม่ยอมซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด ก็มีอำนาจที่จะลงโทษลงทัณฑ์จำเลยต่อไปอีก แม้ว่าจำเลยจะรับสารภาพว่าตนเป็นผู้กระทำผิดแล้ว จารีตนครบาลมีทั้งผลดีและผลเสีย ที่ว่าเป็นผลดี เพราะผู้ร้ายมักจะยอมสารภาพความผิดและซัดทอดพรรคพวกที่ร่วมกระทำผิด และทำให้ราษฎรกลัวเกรงกฎหมายของบ้านเมืองผิดกับกฎหมายสมัยปัจจุบันที่ยอมให้ผู้ร้ายปฏิเสธความผิดได้อย่างลอยนวล  ผู้ร้ายจะโกหกศาลหรือไม่ให้การต่อศาลก็ได้ ไม่มีโทษภัยแต่อย่างใดทั้งสิ้น ข้อนี้เป็นเหตุให้ผู้ร้ายได้ใจ ไม่กลัวการขึ้นศาลเหมือนแต่ก่อน แต่จารีตนครบาลมีผลเสียในข้อที่อาจพลาดได้ จำเลยบางคนอาจเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ทนการทรมานไม่ได้ ก็ต้องสารภาพเลยถูกจำคุกจนตายหรือถูกประหารชีวิตไปก็มี นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้พวกเจ้าหน้าที่ศาล ทำการทุจริตรีดไถจำเลยอีกด้วย